Category: Literature

Home / Category: Literature

E-book

ว่าด้วยเรื่องของการอ่านหนังสือของคนไทยซึ่งปัจจุบันนี้เราพบว่าคนเราห่างจากการอ่านหรือพูดง่ายๆว่าอ่านหนังสือน้อยลงเฉลี่ยปีละ 8 บรรทัดเท่านั้นเองซึ่งถือได้ว่าเป็นสถิติที่น่าตกใจไม่น้อยในขณะที่เมื่อเทียบกับวัฒนธรรมชาวญี่ปุ่นซึ่งรักการอ่านเป็นอย่างมากโดยเฉลี่ยแล้วคนญี่ปุ่นจะอ่านหนังสือเดือนละ 1 เล่มซึ่งเป็นหนังสืออ่านเล่นนอกเวลาแต่เต็มไปด้วยการประเทืองปัญญาและอุตสาหกรรมที่สำคัญในหนังสือแต่ละเล่มนั้นก็ทำ ให้สามารถพัฒนาแนวคิดและวิถีชีวิตของตนเองได้นั่นเองหันกลับมาดูที่สังคมไทยในบ้านเรากับการอ่านหนังสือที่บอกได้เลยว่ายุคนี้เป็นยุคแห่งความฉาบฉวยซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่พูดถึงการอ่านคนไทยเรามักจะเบือนหน้าหนีในทันที

แต่ในปัจจุบันนี้เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในสังคมไทยการอ่านหนังสือก็ ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องที่ง่ายและใกล้ตัวมากยิ่งขึ้นแต่สิ่งที่สำคัญคือหนังสือที่จะได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษก็คือหนังสือประเภทที่สร้างความสนุกสนานบันเทิงเพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าค่านิยมของสังคมไทยและนิสัยคือรักความสนุกสนานเป็นสยามเมืองยิ้มดังนั้นเรื่องราวที่เต็มไปด้วยความตึงเครียดสาระวิชาการเราจึงให้ความสำคัญกันน้อยแต่หันไปให้ความสำคัญกับความสนุกสนานรื่นเริงบันเทิงเสียมากกว่าดังนั้นรูปแบบของหนังสือที่ได้รับความนิยมนอกจากจะต้องเป็นหนังสือที่อัดแน่นไปด้วยความสนุกสนานบันเทิงแล้วยังต้อง เป็นเนื้อหาที่ไม่ยาวมากอีกด้วย

 นอกจากนี้ในปัจจุบัน ยังมีหนังสือออนไลน์เกิดขึ้นในบ้านเราหรือจะบอกว่าเกิดขึ้นกับสังคมทั่วโลกก็เป็นได้เพราะในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้นแม้กระทั่งหนังสือที่เคยหยิบถือกันเป็นเล่มอย่างถูกรวบรวมเรื่องราวเอาไว้ในโลกออนไลน์ที่เราสามารถเปิดอ่านเมื่อไหร่ก็ได้หรือจะเรียกสิ่งนั้นว่า  E Book  นั่นเอง 

ความสะดวกสบายของการมี ebook ทำให้ในปัจจุบันนี้ เราสามารถเข้าถึงเนื้อหาสาระในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายขึ้นและสะดวกสบายมากขึ้นซึ่งในแง่ของการนำไปใช้ประโยชน์ก็มีมากมายหลากหลายรูปแบบด้วยกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการสืบค้นข้อมูลที่อยู่ในหนังสือแต่ละเล่มเราสามารถทำได้ง่ายดายมากยิ่งขึ้นโดยการพิมพ์คำค้นหาเข้าไปใน search engine ยอดนิยมอย่าง Google เพียงไม่กี่วินาทีเราก็จะได้ข้อมูลที่อยู่บนโลกออนไลน์และเราสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปย่อยหรือเรียกว่านำไปใช้ได้ในทันที ซึ่งถือได้ว่าเทคโนโลยีไม่เพียงแต่เข้ามาพัฒนาสังคมเราในเรื่องของการติดต่อสื่อสารเท่านั้นหากแต่พัฒนาไปถึงเรื่องของระบบการจัดการฐานความรู้ซึ่งเป็นความรู้นอกเหนือจากตำราเรียนส่วนที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับว่าใครจะนำสิ่งต่างๆเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับตัวเองได้มากที่สุดนั่นเอง 

เทคนิคของการอ่านหนังสือ

ชีวิตในวัยเรียน หลายคนคงจะเคยเจอเกี่ยวกับการอ่านหนังสือสอบ หรือว่าหนังสือเรียนต่างๆ ที่เราได้เรียนสมัยเรียน แต่พอคล้อยหลังไม่กี่ปีเท่านั้น ปรากฏว่าสิ่งที่เราเคยเรียนมา มันกลับจำไม่ได้เสียแล้ว บางเรื่องถึงกับต้องมาเสียเวลาอ่านใหม่ หรือว่ามาทำความเข้าใจใหม่ เพราะมันจำไม่ได้เลย นี่เป็นสิ่งที่หลายคนเป็นกัน แม้แต่ตอนที่ทำงานก็เหมือนกัน เวลาเรียนเราก็พอจำได้ แต่พอออกมาทำงาน เรื่องที่เรียนมากลับจำไม่ได้เสียแล้ว

นี่เป็นปัญหาที่หลายคนเป็นกันเยอะ แล้วเราจะทำอย่างไรให้เราสามารถจำ สิ่งที่เราเคยเรียน หรือว่าเคยอ่านมาแล้วโดยที่ไม่มีลืม มีวิธีการอย่างไรบ้าง เราลองมาดูเทคนิคที่จิตแพทย์เขาได้แนะนำมา เป็นเทคนิคที่จะช่วยให้เราเข้าใจเรื่องที่เราอ่านได้ง่ายมากขึ้น เร็วขึ้น และที่สำคัญคือจำโดยไม่มีวันลืมอีกด้วย

วิธีการอ่านที่จะทำให้ไม่มีวันลืม

เมื่อเราอ่านหนังสือแล้ว

สิ่งหนึ่งที่เราควรจะมีติดตัวอยู่ตลอดเวลาคือ สมุดหรับการจดโน้ตสิ่งสำคัญ ที่เราได้จากการอ่านหนังสือ จะช่วยให้เราจำได้ง่ายมากขึ้น และไม่มีวันลืมด้วย โดยใช้วิธีการสรุปเรื่องราที่เราอ่านมาทั้งหมด ว่าเราได้ใจความสำคัญอะไร หรือถ้าจะเป็นหนังสือเรียน ก็ใช้วิธีการไฮไลต์คีย์เวิร์ดสำคัญของเนื้อหา ไมต้องกลัวว่ามันจะเปื้อน หรือว่าสกปรก เวลาที่เรากลับมาอ่าน จะได้ไม่ต้องเสียเวลาอ่านทั้งหมด ให้ดูที่เราทำตำหนิเอาไว้เท่านั้น

สร้างความกดดันให้ตัวเอง

หรือว่าตั้งเป้าหมายให้กับตัวเอง อย่างเช่นเราจะตั้งเป้าว่า วันนี้เราจะอ่านหนังสือเล่มนี้ให้จบ หรือไม่ก็จะอ่านให้ได้กี่บทก็แล้วแต่เรากำหนด แล้วเราก็ทำให้ได้อย่างที่เราต้องการ เมื่อเรารู้ว่าตัวเองจำเป็นจะต้องทำให้มันได้ สมองของเราก็จะมีส่วนที่จะช่วยให้เราจำเนื้อหานั้นได้ง่ายขึ้น และอ่านทุกครั้งที่มีเวลา ไม่ว่าจะเป็นเวลาว่างน้อยนิด อย่างเช่นการนั่งรถไปทำงาน หรือกลับบ้านก็ได้ทั้งสิ้น เป็นการฝึกนิสัยของการรักการอ่านด้วย

ต้องเข้าใจเนื้อหาของหนังสือด้วย

การอ่านที่ดี และมีประสิทธิภาพที่สุด ไม่ได้อยู่เพียงแค่การอ่านเร็วเท่านั้น แต่อยู่ที่การเข้าใจเนื้อหาที่อ่านต่างหาก ฉะนั้นเวลาที่เราอ่านหนังสืออะไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือ จะต้องทำความเข้าใจเนื้อหาที่อ่านทั้งหมด หรือพูดง่ายๆ ก็คือให้เน้นที่ประสิทธิภาพของการอ่าน อย่าเน้นที่ปริมาณ

แบ่งเนื้อหาในการอ่าน

การอ่านที่มีประสิทธิภาพคือการแบ่งเวลาอ่าน ไม่จำเป็นที่จะต้องอ่านครั้งเดียวให้หมดทั้งเล่ม ให้แบ่งการอ่านอาจจะเป็นวันละบท หรือวันละ 10-15 นาทีแบบนี้จะทำให้เราจำเนื้อหหาได้ง่ายมากขึ้น และจำได้ยาวนานมากขึ้นด้วย

สำหรับคนที่อ่านอย่างไรก็ไม่เคยจำเนื้อหาได้สักที ลองเอาวิธีการอ่านของจิตแพทย์ท่านนี้ไปลองปฏิบัติตามดู เชื่อว่าต้องดีกว่าเดิมแน่นอน และเรื่องราวเทคนิคการอ่านแบบนี้ ก็ได้รับการตีแผ่เป็นหนังสือด้วย นับว่าเป็นเทคนิคที่มีประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษา

อ่านหนังสืออย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

วิธีการหาความรู้ที่ง่ายที่สุดอีกวิธีหนึ่งก็คือการอ่าน เพราะเป็นสิ่งที่เราสามารถเรียนรู้ หาความรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ต้องรอหรือว่าให้ใครมาสอน เรารู้ว่าเราไม่รู้อะไร หรือว่าต้องการจะต้องรู้เกี่ยวกับอะไร เราก็สามารถหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านได้ ถ้าไม่อยากจะเสียเงินซื้อ ก็สามารถที่จะไปหายืมตามห้องสมุดมาอ่านได้เช่นกัน และเดี๋ยวนี้ในหนังสือ ก็มีความรู้ทุกอย่างที่เราต้องการอยากจะทราบ เพียงแต่เราจะขวนขวายหามาหรือไม่เท่านั้นเอง

และสำหรับใครที่เวลาอ่านหนังสือที่ไร ก็มักจะมีอาการเบื่อ หรือไม่ก็มักจะไม่เข้าใจ ไม่มีสมาธิในการอ่าน ลองมาดูเทคนิคในการอ่านหนังสือต่อไปนี้ ที่หลายคนเอาไปใช้แล้วได้ผลมากที่สุด คนที่อยากจะเพิ่มประสิทธิภาพการอ่านของตัวเอง น่าจะลองเอาไปใช้ แล้วจะเห็นผลที่แตกต่างจากเดิมแน่นอน มีวิธีไหนบ้างที่น่าสนใจ

-หาบรรยากาศ เราอยากจะอ่านหนังสือได้นาน เราก็ต้องไปคลุกคลีกับคนที่มีนิสัยรักการอ่านเหมือนกัน หรือว่าจะไปอ่านที่ห้องสมุดก็ได้ แล้วเราจะอยากอ่านหนังสือเหมือนคนเหล่านั้น

-ห่างไกลจากสิ่งรบกวน การจะอ่านหนังสือ ให้ได้ผล และเข้าใจมากที่สุดนั้น ที่ที่เราจะอ่าน ควรจะเป็นห้องที่มันมีเสียงเข้ามารบกวน ไม่ว่าจะเป็นเสียงจากคน หรือเสียงจากเครื่องจักรก็ตาม เพราะเมื่อไหร่ที่มันมีเสียงเข้ามารบกวน เราก็อาจจะไม่มีสมาธิในหารอ่านมากเท่าไหร่ และก็จะไม่อยากอ่านด้วย เหมือนที่เราเข้าไปห้องสมุดนั่นแหละ ที่ห้องสมุดเขาจึงงดใช้เสียง เพื่อให้คนที่เข้ามาอ่านหนังสือ ได้มีสมาธิในการอ่านมากขึ้น คนที่อ่านแล้วเบื่อ อ่านได้ไม่นาน ลองเปลี่ยนบรรยากาศการอ่าน ไปหาที่สงบๆ อ่านดูบ้าง เผื่อมันจะช่วยได้ดีขึ้นกว่าเดิม

-กำหนดเป้าหมายในการอ่าน คนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ แล้วอยากจะเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง ให้เป็นคนที่มีนิสัยรักการอ่าน ก่อนที่เราจะอ่านหนังสืออะไรก็ตาม เราควรตั้งเป้าหมายของเราเสียก่อน ว่าจะอ่านกี่หน้า อ่านกี่บท หรือว่าอ่านกี่นาที่ ระยะแรกๆ เราก็ไมต้องเอาเยอะมากก็ได้ และเมื่อเราทำตามที่เราตั้งงเป้าเอาไว้ ครั้งต่อไปก็ให้เพิ่มจำนวนการอ่านของเราให้มากขึ้น นานขึ้น และเมื่อนั้นเราจะติดนิสัยรักการอ่านเอง

-โน้ตสั้นๆลงไปด้วย เมื่อเราอ่านหนังสือไปเจออะไรที่มันโดน หรือมันช่วยให้เราจำอะไรในเนื้อหาได้ง่ายมากขึ้น เราก็ควรจะจดบันทึกงในสมุด หรือว่าทำตำหนิ อย่างเช่นไฮไลต์เอาไว้เลย เพื่อที่คราวหลังเราจะได้ไม่ต้องมาเสียเวลานั่งอ่านใหม่ และเมื่อเรารู้ว่าได้อะไรจากการอ่าน เราก็อยากจะอ่านมากขึ้นเรื่อยๆ ลก็จะทำให้เราติดนิสัยรักการอ่านไปโดยปริยาย

เพียงแค่นี้เราก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการอ่านได้แล้ว และเราก็จะสามารถศึกษาหาอ่านอะไรก็ได้ ที่เราต้องการอยากจะรู้ เพราะเรามีเทคนิคการอ่านที่ดีอยู่แล้ว ใครที่ยังใช้วิธีเดิมๆ แล้วัมนไม่ค่อยอจะได้ผล ลองเอาวิธีดังกล่าวไปลองทำดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อยู่ในวัยเรียน ที่ต้องอ่านหนังสือสอบ ถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง